โปรโมทเว็บไซต์คุณกับแอดยิ้มวันนี้ กระจายโฆษณาของคุณ สู่เว็บไซต์คุณภาพ

บทความล่าสุด

เกมส์,การ์ตูน,กราฟฟิก,commie,animation,Art Graphic Design

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พล็อตหลักในการแต่งเรื่อง มี3หลัก

พล็อตหลักในการแต่งเรื่อง มี3หลัก

มีอยู่ครั้งนึงที่ไปอ่านเจอพล็อตหลักที่ใช้ในการแต่งเรื่อง จำไม่ได้แล้วว่าจากหนังสือเล่มไหน แต่เท่าที่พอจำได้เค้าจะแบ่งพล็อตหลักๆที่ใช้กันทั่วไปออกเป็น 3 แบบ.
1. Once upon a time
2. When boy meet girl
3.A man needs to learn

ถ้อย คำต่อไปนี้ไม่ได้เอามาจากหนังสือเล่มที่เคยอ่าน เพราะจริงๆผมก็จดมาแค่หัวข้อเท่านั้น ก็คงประมาณว่าเป็นการบ่นตามความเข้าใจส่วนตัวนั่นเอง ซึ่งบางทีอาจจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อเลยก็ได้

1. Once upon a time - กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...
"ครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้มี... " โครงเรื่องแบบนี้เห็นได้ทั่วไปจากนิทานเด็ก แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นนิทานเสมอไปที่ใช้พล็อตแบบนี้ แม้แต่ชีวประวัติหรือเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ก็น่าจะจัดได้ว่าอยู่ใน ประเภทนี้เช่นกัน
วิธีการเล่าเรื่องแบบนิทานมันอาจจะดูเรียบง่าย แต่ว่าเพราะความเรียบง่ายนี่เองเลยทำให้เข้าถึงคนอ่านได้ง่ายไปด้วย งานของนักเขียนการ์ตูนที่ใช้การเล่าเรื่องแบบนี้เท่าที่ผมเคยอ่านและชอบมากๆ คือ อ.วาดะ ชินจิ ผู้เขียนเคิร์ท เจ้าชายอภินิหาร, ซีรี่ยส์สาวน้อยอาสุกะฯลฯ งานส่วนใหญ่ของแกจะถ่ายทอดออกมาในแนวการเล่าเรื่อง บางทีให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนิทานพื้นบ้าน เข้าใจง่าย สนุก และไม่น่าเบื่อ และถึงแม้บางทีแกจะเป็นแค่คนคิดเรื่องให้แล้วมอบหมายให้นักเขียนคนอื่นเป็น ผู้วาดภาพ(ระยะหลังเห็นว่าแกมีปัญหาเรื่องมือ ซึ่งนักเขียนที่กรำงานติดต่อกันนานนับปีหลายคนจะเป็นกันมาก) งานออกมาก็ยังสนุกอยู่ดี
บางทีการเล่าเรื่องก็อาจไม่จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศอลังการงานสร้าง มหัศจรรย์พันลึก อ่านแล้วต้องคิดกรองก่อนซัก 38 ตลบก็ได้เล่าแบบให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนก็ดีเหมือนกัน จริงๆแล้วจุดประสงค์ก็คือเป็นการชักนำผู้รับสารให้เข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะ ถ่ายทอดให้เค้ารับรู้
ไม่ใช่การบังคับยัดเยียด แต่ทำให้เค้าสนใจจนต้องตามเรามาติดๆ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ก็คงเหมือนการหาวิธีมาล่อหลอกดึงความสนใจเด็กเล็กๆให้เค้าทำตามที่เราอยากทำ นั่นเอง
ทำไมถึงเปรียบคนอ่านเป็นเด็ก? ก็เหมือนเราเลี้ยงเด็ก ถ้าเค้าไม่เอาด้วย เราจะบังคับเค้าให้ทำตามเราก็ไม่ได้ ต้องใช้วิธีล่อหลอกสารพัด นั่นแหละครับ แบบเดียวกับการล่อหลอกคนอ่านนั่นแหละ

2. When boy meet girl - เมื่อเขาและเธอมาพบกัน...

แม่นแล้วครับ นี่เป็นพล็อตของเรื่องรักๆใคร่ๆทั้งหลายนั่นเอง ส่วนใหญ่เรื่องราวทั้งหลายทั้งปวงจะเกิดขึ้นเมื่อเขาและเธอได้เจอกัน ซึ่งก่อนหน้านั้นอาจจะมีการปูพื้นของแต่ละฝ่ายมาก่อนว่าแต่ละคนเป็นยังไงมา ยังไง และเมื่อมาเจอกันต่างฝ่ายย่อมมีอิทธิพลกับอีกฝ่ายจนชีวิตต่อจากนี้ไปจะไม่ เหมือนกับที่ผ่านมา
ยิ่งถ้าทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันราวฟ้ากับเหว ยกตัวอย่างง่ายๆก็เช่นละครไทยทั้งหลายแหล่ พระเอกรวยนางเอกจน พระเอกจนนางเอกรวย ไม่ก็รวยทั้งคู่แต่ถูกจับให้หมั้นหมายกันตั้งแต่ยังไม่เกิดแล้วเพิ่งมาเจอ หน้ากัน ฯลฯ ก็จะสร้างสถานการณ์ต่อได้ต่างๆนาๆ
แต่การพบกันของทั้งสองฝ่ายก็ใช่ว่าจำเป็นจะต้องเป็นการเจอตัวกันเสมอไป อาจจะรู้จักกันผ่านทางสื่อบางอย่างโดยไม่เคยเจอกันเลยก็ได้ อย่างเรื่อง Il Mare ที่ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันผ่านตัวหนังสือในจดหมายที่ส่งผ่านข้ามกาลเวลาเท่า นั้น

3.A man needs to learn - คนเราต้องเรียนรู้และเติบโต...
หลักๆของข้อนี้ก็คือการพัฒนาการของตัวละครในเรื่องนั่นเอง ตัวเอกที่ได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆนานๆ ได้พานพบรู้จักคนมากมาย ได้มีประสบการณ์ที่หวานชื่นและขมขื่น และได้ค้นพบอะไรบางอย่างในชีวิต
ไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าไหร่ที่จะแต่งเรื่องแนวนี้ อย่างน้อยคนแต่งเองก็ต้องเข้าใจถึงความรู้สึกบางอย่างถึงจะสามารถแต่งเรื่อง แบบนี้ออกมาได้ดี เป็นแนวที่แต่งได้ยากแต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นแนวที่จะประทับตรึงอยู่ในใจ คนอ่านได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเรื่องเจ้าชายอภินิหารของ อ.วาดะ ชินจิ อีกสักครั้ง ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบตัวเคิร์ทเองจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากเด็กน้อยผู้รักอิสระและการผจญภัย ออกเดินทางเพื่อที่จะถอนคำสาปให้แม่ ผ่านเหตุการณ์และผู้คนมามากมาย ได้รู้จักทั้งความสุขและความเศร้า จนในที่สุดก็เติบโตขึ้นเป็นเจ้าชายอย่างเต็มตัว ระหว่างที่อ่านไปคนอ่านจะรู้สึกว่าตัวเองได้มี "ประสบการณ์ร่วม" กับตัวละคร ได้ผ่านเหตุการณ์และความรู้สึกต่างๆไปด้วยกัน รวมถึงการลุ้นเอาใจช่วยตัวละครในบางคราว เชื่อเถอะว่าคนที่ชอบเรื่องนี้น่ะชอบตอนที่เคิร์ทกับโอเรียโตเป็นหนุ่มหล่อ สาวสวยด้วยกันทั้งนั้น
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่คนอ่านเองเคยมีประสบการณ์มาด้วยแล้วจะยิ่งอินได้ง่าย อย่างการ์ตูนไทยเรื่อง ซิกัมซ้า ที่เขียนถึงบรรยากาศการรับน้องของคณะศิลปกรรม พวกที่เรียนศิลป์มาก็จะร้อง เออเว้ย ตอนนี้เหมือนที่ตูเคยเจอมาเลย และจะเกิดอารมณ์ร่วมตามได้ง่าย
แต่ไม่ใช่ว่าการทำให้เกิดอารมณ์ร่วมตามเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความ รู้สึกตรึงใจได้ ต้องให้คนอ่านรู้สึกว่าได้ค้นพบ "อะไรบางอย่าง" ด้วย
อาจจะเป็นบางอย่างที่หลงลืมไป บางอย่างที่เราเคยมองข้าม หรือบางอย่างที่เราไม่เคยคิดถึงในแง่มุมนั้นมาก่อน
จริงๆแล้วมีเรื่องที่ใช้พล็อตนี้แล้วทำให้ผมประทับใจหลายๆเรื่อง ไว้มีโอกาสจะหยิบมาบอกเล่าถึงความประทับใจในโอกาสต่อๆไป

ขอบคุณ บ้านน้อยในไร่แห้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น