พล็อตหลักในการแต่งเรื่อง มี3หลัก
มีอยู่ครั้งนึงที่ไปอ่านเจอพล็อตหลักที่ใช้ในการแต่งเรื่อง จำไม่ได้แล้วว่าจากหนังสือเล่มไหน แต่เท่าที่พอจำได้เค้าจะแบ่งพล็อตหลักๆที่ใช้กันทั่วไปออกเป็น 3 แบบ.
1. Once upon a time
2. When boy meet girl
3.A man needs to learn
ถ้อย คำต่อไปนี้ไม่ได้เอามาจากหนังสือเล่มที่เคยอ่าน เพราะจริงๆผมก็จดมาแค่หัวข้อเท่านั้น ก็คงประมาณว่าเป็นการบ่นตามความเข้าใจส่วนตัวนั่นเอง ซึ่งบางทีอาจจะไม่เกี่ยวกับหัวข้อเลยก็ได้
1. Once upon a time - กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...
"ครั้งหนึ่งนานมาแล้วได้มี... " โครงเรื่องแบบนี้เห็นได้ทั่วไปจากนิทานเด็ก แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นนิทานเสมอไปที่ใช้พล็อตแบบนี้ แม้แต่ชีวประวัติหรือเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ก็น่าจะจัดได้ว่าอยู่ใน ประเภทนี้เช่นกัน
วิธีการเล่าเรื่องแบบนิทานมันอาจจะดูเรียบง่าย แต่ว่าเพราะความเรียบง่ายนี่เองเลยทำให้เข้าถึงคนอ่านได้ง่ายไปด้วย งานของนักเขียนการ์ตูนที่ใช้การเล่าเรื่องแบบนี้เท่าที่ผมเคยอ่านและชอบมากๆ คือ อ.วาดะ ชินจิ ผู้เขียนเคิร์ท เจ้าชายอภินิหาร, ซีรี่ยส์สาวน้อยอาสุกะฯลฯ งานส่วนใหญ่ของแกจะถ่ายทอดออกมาในแนวการเล่าเรื่อง บางทีให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนิทานพื้นบ้าน เข้าใจง่าย สนุก และไม่น่าเบื่อ และถึงแม้บางทีแกจะเป็นแค่คนคิดเรื่องให้แล้วมอบหมายให้นักเขียนคนอื่นเป็น ผู้วาดภาพ(ระยะหลังเห็นว่าแกมีปัญหาเรื่องมือ ซึ่งนักเขียนที่กรำงานติดต่อกันนานนับปีหลายคนจะเป็นกันมาก) งานออกมาก็ยังสนุกอยู่ดี
บางทีการเล่าเรื่องก็อาจไม่จำเป็นต้องสร้างบรรยากาศอลังการงานสร้าง มหัศจรรย์พันลึก อ่านแล้วต้องคิดกรองก่อนซัก 38 ตลบก็ได้เล่าแบบให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนก็ดีเหมือนกัน จริงๆแล้วจุดประสงค์ก็คือเป็นการชักนำผู้รับสารให้เข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะ ถ่ายทอดให้เค้ารับรู้
ไม่ใช่การบังคับยัดเยียด แต่ทำให้เค้าสนใจจนต้องตามเรามาติดๆ ถ้าให้ผมเปรียบเทียบ ก็คงเหมือนการหาวิธีมาล่อหลอกดึงความสนใจเด็กเล็กๆให้เค้าทำตามที่เราอยากทำ นั่นเอง
ทำไมถึงเปรียบคนอ่านเป็นเด็ก? ก็เหมือนเราเลี้ยงเด็ก ถ้าเค้าไม่เอาด้วย เราจะบังคับเค้าให้ทำตามเราก็ไม่ได้ ต้องใช้วิธีล่อหลอกสารพัด นั่นแหละครับ แบบเดียวกับการล่อหลอกคนอ่านนั่นแหละ
2. When boy meet girl - เมื่อเขาและเธอมาพบกัน...